เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 4. กุกกุฬวรรค 10. ตติยอนัตตสูตร

9. ทุติยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา สูตรที่ 2

[144] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ
สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น”

ทุติยอนัตตสูตรที่ 9 จบ

10. ตติยอนัตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา สูตรที่ 3

[145] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทราคะในสิ่งนั้น
ก็อะไรเล่าเป็นอนัตตา
คือ รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้น
เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :235 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [1.ขันธสังยุต]
จูฬปัณณาสก์ 4. กุกกุฬวรรค 12. อนิจจานุปัสสีสูตร

สัญญา ...
สังขาร ...
วิญญาณเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น’

ตติยอนัตตสูตรที่ 10 จบ

11. นิพพิทาพหุลสูตร
ว่าด้วยผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย

[146] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่ ... ในเวทนา ...
ในสัญญา ... ในสังขาร พึงเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่
ผู้ใดมากด้วยความเบื่อหน่ายในรูปอยู่ ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร
มากด้วยความเบื่อหน่ายในวิญญาณอยู่ ก็จะกำหนดรู้รูป ... เวทนา ... สัญญา ...
สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ผู้นั้นเมื่อกำหนดรู้รูป กำหนดรู้เวทนา กำหนดรู้สัญญา
กำหนดรู้สังขาร กำหนดรู้วิญญาณ ย่อมพ้นจากรูป ย่อมพ้นจากเวทนา ย่อมพ้น
จากสัญญา ย่อมพ้นจากสังขาร ย่อมพ้นจากวิญญาณ เรากล่าวว่า ‘ย่อมพ้นจากชาติ
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส และย่อมพ้นจากทุกข์’

นิพพิทาพหุลสูตรที่ 11 จบ

12. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

[147] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา มีธรรม
อันเหมาะสม คือ พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปอยู่ ฯลฯ ในเวทนา ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 17 หน้า :236 }